ครีมกันแดดหน้า : เชื่อว่าหลายคนคงจะรู้จักกับรังสียูวีกันแล้วนะคะ แต่จะมีใครทราบบ้างรังสีอันตรายชนิดนี้ที่เราต้องเจอในทุก ๆ วันนั้น แท้ที่จริงเป็นอะไร มาได้อย่างไร และทำอันตรายอะไรให้เราบ้าง ซึ่งวันนี้เราจะมาล้วงลึกถึงเจ้ารังสีชนิดนี้กันค่ะ ว่ารังสีนี้คืออะไรกันแน่
สารบัญเนื้อหา
1. อะไรคือ รังสียูวี ?
2. รังสียูวีเกิดจากอะไรได้บ้าง ?
3. รังสียูวีมีช่วงคลื่นเท่าไหร่ที่ทำอันตรายต่อมนุษย์ได้บ้าง
4. อันตรายของรังสี UVA และรังสี UVB
1. อะไรคือ รังสียูวี ?
รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ Ultraviolet Radiation:UV หรือที่เราเรียกสั้น ๆ ว่ารังสี UV เป็นรังสีเหนือม่วง เป็นรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากการแผ่ของดวงอาทิตย์ ซึ่งมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 100–400 นาโนเมตร (nm) ความถี่ 1015-1217 เฮิร์ต ซึ่งตาของมนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ มีคุณสมบัติไม่แตกตัว เป็น non-ionizing รังสีอัลตราไวโอเลตเป็นช่วงรังสีที่อยู่ระหว่างชนิดรังสีที่แตกตัวได้และแตกตัวไม่ได้ ประกอบด้วย 3 ชนิดความยาวคลื่น คือ
- รังสี UVA หรือเรียกชื่ออื่นว่า Long wave UVR หรือ Black light ความยาวคลื่น 315 – 400 nm มีระดับพลังงาน 3.10-3.94 eV
- รังสี UVB หรือเรียกชื่ออื่นว่า Middle UVR หรือ Sunburn radiation ความยาวคลื่น 280 – 315 nm มีระดับพลังงาน 3.94-4.43 eV
- รังสี UVC หรือเรียกชื่ออื่นว่า Short wave UVR หรือ Germicidal radiation ความยาวคลื่น 100 – 280 nm มีระดับพลังงาน 4.43-12.4 eV
2. รังสียูวีเกิดจากอะไรได้บ้าง ?
- การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ (solar radiation)
แน่นอนว่ารังสียูวีส่วนใหญ่เกิดจากดวงอาทิตย์เป็นสำคัญ ถือเป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของการแผ่รังสีที่ส่องมาถึงโลก โดยประกอบด้วยรังสียูวีซี ยูวีบี และยูวีเอ รวมถึงช่วงคลื่นที่มนุษย์มองเห็น และรังสีอินฟาเรด แต่รังสีบางส่วนจะถูกดูดซับไว้ในชั้นบรรยากาศ ที่เหลือสามารถส่องมาถึงผิวโลกในระดับไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ - แหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (artificial sources)
นอกจากอันตรายของรังสียูวีที่เราจะได้รับจากดวงอาทิตย์แล้ว เรายังได้รับรังสียูวีจากสิ่งที่คนเป็นผู้สร้าง ซึ่งอันได้แก่วัตถุทุกชนิดที่ถูกทำให้ร้อน จนมีอุณหภูมิสูงมากกว่า 25,00 องศาเคลวิน ซึ่งสามารถปล่อยรังสีอัลตราไวโอเลตได้ โดยเป็นวัตถุ อุปกรณ์ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับการใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ทางการเกษตร หรือเครื่องถ่ายเอกสาร - รังสียูวีมีช่วงคลื่นเท่าไหร่ที่ทำอันตรายต่อมนุษย์ได้บ้าง
พลังงานของช่วงคลื่นที่แผ่มาจากดวงอาทิตย์ ตั้งแต่ช่วงคลื่นสั้นต่าง ๆ จนถึง 175 นาโนเมตร จะถูกดูดซับด้วยออกซิเจนในชั้นสตราโทสเฟียร์ที่ความสูงประมาณ 100 กิโลเมตร และพลังงานความยาวคลื่นตั้งแต่ 175 ถึง 280 นาโนเมตร หรืออยู่ในช่วงคลื่นอัลตร้าไวโอเลตซี (UVC) จะถูกดูดชั้นโอโซนทำลาย ซึ่งช่วงคลื่นเหล่านี้มีระดับพลังงานสูงหากผ่านมาถึงผิวโลกจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์มาก แต่ปัจจุบันชั้นโอโซนถูกทำลายลงมากทำให้อัตราการแผ่รังสียูวีซี (UVC) ลงมาถึงผิวโลกมีเพิ่มมากขึ้น สำหรับพลังงานในช่วงคลื่นตั้งแต่ 280-3000 นาโนเมตร ประกอบด้วยรังสีอัลตร้าไวโอเลตบี (UVB) 280-315 นาโนเมตร รังสีอัลตร้าไวโอเลตเอ (UVA) 315-400 นาโนเมตร ช่วงคลื่นที่ตามนุษย์มองเห็น 400-760 นาโนเมตร และรังสีอินฟาเรด 760-3000 นาโนเมตร
ซึ่งช่วงคลื่นที่ตามองเห็น และช่วงคลื่นรังสีอินฟาเรดจะสามารถเข้าสู่ผิวหนังของมนุษย์ได้ แต่จะไม่ถูกดูดซับไว้ จึงไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ แต่รังสีอัลตร้าไวโอเลตเอและบี (UVA), (UVB) สามารถเข้าสู่ผิวหนัง และถูกดูดซับไว้โดยรังสี UVA จะเข้าสู่ผิวหนังลึกสุด และดูดซับมากกว่ารังสี UVB
4. อันตรายของรังสี UVA และรังสี UVB
รังสี UVB มีค่าพลังงานมากกว่ารังสี UVA มีผลสามารถทำลายดีเอ็นเอและเกิดมะเร็งผิวหนังได้ ส่วนรังสี UVA ถึงแม้จะมีระดับพลังงานต่ำกว่า แต่สามารถแทรกสู่ผิวได้ลึกกว่า หากสัมผัสในระยะเวลานาน และต่อเนื่องจะทำให้เซลล์ผิวหนังอ่อนล้า ผิวเสื่อมสภาพเร็ว ทำให้ดูเหี่ยวย่นจนถึงระดับรุนแรงที่อาจเกิดเป็นเซลล์มะเร็งได้ รังสียูวีทั้ง 2 ชนิดนี้ หากได้รับในระดับต่ำจะมีประโยชน์ต่อการสร้างวิตามินดีและช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกาย แต่หากได้รับในปริมาณมากเกินความเป็นประโยชน์จะมีผลต่อการทำลายระบบภูมิคุ้มกัน การทำลายเนื้อเยื่อเซลล์ ทำให้ผิวหนังแลดูเหี่ยวหยุ่นจนถึงระดับรุนแรงกลายเป็นเซลล์มะเร็ง
สำหรับรังสียูวี มีอันตรายมากต่อผิวหนัง สามารถทำให้เกิดรอยไหม้ (Sunburn) และความผิดปกติของสารพันธุกรรม นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดกระบวนการ Lipid peroxidation และการอักเสบเฉียบพลัน รวมถึงการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่ออันเกิดจากการเกิดอนุมูลอิสระของรังสียูวี มีการศึกษาผลกระทบรังสียูวีต่อสัตว์น้ำ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ผลการศึกษานั้นพบว่ารังสียูวีบีมีผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในปลา และมีผลกระทบรุนแรงต่อเยื่อบุผิวบริเวณเหงือกปลา ทำให้เนื้อเยื่อบุผิวหลุดลอก จนเหงือกปลากดสั้น ในส่วนของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ พบว่ารังสียูวีบีมีผลทำให้ตัวอ่อนในระยะฟักตัวมีความผิดปกติ อัตราการเติบโตลดลง และเกิดความผิดปกติของผิวหนัง รวมถึงระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ยังพบว่ารังสียูวีบีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโมเลกุลของสารชีวเคมีหลายชนิด ที่สำคัญ ได้แก่ การเกิดไทมีนไดเมอร์ (Thymine dimer) ที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งหรือการกลายพันธุ์
สรุป ครีมกันแดดหน้า
ครีมกันแดดหน้า : เห็นอันตรายของรังสียูวีขนาดนี้แล้ว สาว ๆ ต้องไม่ลืมหมั่นทาครีมกันแดดนะคะ เพื่อผิวที่สวยสุขภาพดีของเราจะได้อยู่คู่กับเราไปนาน ๆ ค่ะ
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ทำยังไงให้ผิวเป็นสิว แพ้ง่าย กลับมาขาวใสเหมือนเดิม
ปัญหาผิวเป็นสิว ผิวแพ้ง่าย คือปัญหาผิวที่สาว ๆ หลายคนต้องเจอกันเป็นส่วนใหญ่ และเป็นปัญหาเรื้อรัง เพราะนอกจากเราจะเป็นสิว ปัญหาที่จะตามมาก็คือ รอยแดงสิว ความหมองคล้ำ ริ้วรอย จุดด่างดำ และเป็นปัญหาที่เราต้องตามแก้ไข กว่าจะหายก็ใช้เวลานาน และแน่นอนว่าปัญหาเหล่านี้ไม่มีวันหมดง่าย ๆ ตราบใดที่คุณยังเป็นสิวและมีผิวแพ้ง่ายเหมือนเดิม เราจึงอยากแนะนำเคล็ดลับการดูแลผิวสำหรับคนที่เป็นสิว มีผิวแพ้ง่าย ให้กลับมาขาวใสได้อีกครั้งมาฝากกันค่ะ
เคล็ดลับหน้าใส ไร้สิว เผยผิวออร่า
ใบหน้าของผู้หญิงถือว่าเป็นจุดเซ็นเตอร์ของความงามก็ได้เลยนะคะ แต่ถ้าเราไม่ดูแลผิวหน้าจนปล่อยให้มีสิว มีฝ้า จุดด่างดำ ก็อาจทำให้เราหมดความสวยไปเลย และยังส่งผลเสียต่อผิวในระยะยาวอีกด้วย และการจะทำให้ผิวหน้ากลับมาสวยใสได้เหมือนเดิมนั้นก็ดูจะเป็นเรื่องยากมาก เพราะฉะนั้น เราควรรักษาผิวหน้าให้สวยใสไร้สิวกันดีกว่า เพื่อไม่ต้องมานั่งแก้ปัญหาผิวในภายหลังอีกครั้ง ซึ่งวันนี้เราก็มี 10 เคล็ดลับการดูแลผิวมาฝากกัน
8 นิสัยที่ทำให้สิวหายเกลี้ยง ไม่กลับมาอีกเลย
เรื่องของสิวเป็นแล้วก็กลับมาเป็นอีก เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมสิวจึงเป็น ๆ หาย ๆ ในความเป็นจริงแล้วสิวเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนจริงหรือเปล่า หรือเป็นเพราะนิสัยของเรากันแน่ที่ทำให้เกิดสิวตัวร้าย เป็นแล้วก็เป็นอีก นอกจากเลิกเป็นสิวแล้วยังทิ้งรอยแผลสิวไว้ให้ดูต่างหน้าอีกด้วย เรามาดูกันดีกว่าว่านิสัยแบบไหนที่จะทำให้สิวหายเกลี้ยง ไม่กลับมาเยี่ยมใบหน้าของเราอีกเลย
เหตุผลว่าทำไมเซรั่มจึงช่วยชะลอริ้วรอยแห่งวัยได้
ไม่ว่าการดูแลขั้นตอนจะใช้สกินแคร์มากสักแค่ไหน แต่เชื่อเถอะค่ะว่าเซรั่มจะเป็นหนึ่งในตัวเลือกนั้นเสมอ นั่นเป็นเพราะเซรั่มนั้นมีส่วนช่วยในการบำรุงผิวได้อย่างลึกล้ำ ทำให้ผิวแข็งแรงมากยิ่งขึ้น และทำให้ผิวมีสุขภาพดีขึ้นได้ เซรั่มจึงเปรียบเสมือนได้กับอาหารผิวชั้นดีที่สกัดมาเพื่อการบำรุงผิวโดยเฉพาะ
เลือกเซรั่มยังไงให้ดีที่สุดสำหรับผิวของเรา
หากคุณเป็นอีกคนที่ต้องการให้ผิวมีสุขภาพดี สิ่งหนึ่งที่คุณจะขาดไม่ได้ก็คือการใช้สกินแคร์ช่วยบำรุงผิวของคุณค่ะ โดยเฉพาะการใช้เซรั่มบำรุงผิวร่วมกับสกินแคร์ตัวอื่น และการใช้เซรั่มก็ไม่ใช่ว่าคุณจะเลือกใช้เซรั่มอย่างไรก็ได้นะคะ แต่ต้องเลือกเซรั่มที่ดีที่สุดและเหมาะกับผิวของเราจริง ๆ จึงจะทำให้เซรั่มบำรุงผิวพรรณได้อย่างมีประสิทธิภาพและเห็นผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
รู้ไว้เลย ถ้าไม่ทาครีมกันแดดจะเป็นแบบนี้นะจ๊ะ
เราเตือนแล้วเตือนอีกว่าถ้าอยากมีผิวสวย ไม่แห้งเหี่ยวก่อนวัยอันควรก็ต้องปกป้องผิวด้วยครีมกันแดด แต่ถึงแม้ว่าแดดบ้านเราจะร้อนสักแค่ไหน แต่สาว ๆ ก็มักจะหลงลืมทาครีมกันแดดกันประจำ เอาเป็นว่าถ้าใครไม่เชื่อเรา วันนี้เราจะมาบอกว่าทำไมสาว ๆ จึงควรทาครีมกันแดด เพราะถ้าหากไม่ทาแล้วล่ะ ผิวของคุณก็อาจจะเป็นแบบนี้ได้เลยค่ะ
พลาดกันมากี่ครั้งแล้วกับความเชื่อผิด ๆ ของครีมกันแดด
แสงแดดร้อนระอุในบ้านเราแบบนี้ สิ่งที่เราจะขาดจากกระเป๋าของเราไม่ได้เลยก็คือ ครีมกันแดดนั่นเอง เพราะครีมกันแดดมีประโยชน์ต่อผิวอย่างมาก ทั้งช่วยป้องกันผิวจากรังสี UV ไม่ให้ผิวไหม้คล้ำเสีย ชะลอการเกิดริ้วรอย ไม่ทำให้เราแก่เร็ว ลดความเสี่ยงการเกิดกระ ฝ้า มะเร็งผิวหนัง แต่ถึงประโยชน์จะเยอะขนาดนี้ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่ายังมีหลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับครีมกันแดด จะมีอะไรบ้างนั้นมาดูกันเลยดีกว่าค่ะ
เซรั่ม แหล่งอาหารชั้น 1 ที่ผิวเราขาดไม่ได้!
ปัจจุบันแค่ใช้ครีมบำรุงผิวธรรมดาก็เอาไม่อยู่แล้ว เพราะในอากาศสมัยก่อนกับปัจจุบันนั้นแตกต่างกันสิ้นเชิง เราคงต้องยอมรับว่าผิวของเราล้วนตกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยมลพิษมากมายกว่าแต่ก่อน ไม่ว่าจะเป็นฝุ่น คราบเขม่าควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ความร้อนจากแสงแดดที่นับวันก็ยิ่งมีแต่เพิ่มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หรือแม้กระทั่งโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ปล่อยของเสียออกมาในปริมาณมาก สิ่งที่เราจะทำได้คือการดูแลผิวของเรา เติมอาหารผิวของเราให้ได้มากที่สุด เพื่อทำให้ผิวมีสุขภาพดีได้นั่นเอง และสกินแคร์ตัวสำคัญที่จะดูแลผิวของเราให้มีสุขภาพดีขึ้นได้ก็คือ เซรั่มบำรุงผิวนั่นเองค่ะ
ผิวของคนเราจะทนแดดได้ซักแค่ไหนกันนะ
แสงแดดที่เราต้องเจอกันทุก ๆ วัน รู้หรือไม่คะว่าคนเราแต่ละคนมีความทนต่อแสงแดดต่างกัน เนื่องจากสีผิวของเรานั้นแตกต่างกัน ทำให้การดูดซับหรือความทนต่อรังสียูวีในผิวของแต่ละคนไม่เท่ากันค่ะ เรามาดูกันดีกว่าว่าสีผิวของแต่ละคนจะมีความทนต่อแสงแดดได้สักเท่าไหร่ และจะมีวิธีการป้องกันผิวจากแสงแดดที่น่าสนใจได้อย่างไรบ้าง
ทำไมเราต้องให้ค่าความสำคัญกับค่า PA ในครีมกันแดดด้วย
ครีมกันแดดที่เราใช้ ๆ กันอยู่ทุกวันนี้ สาว ๆ รู้หรือไม่ว่าไม่ใช่ครีมกันแดดทุกยี่ห้อจะใช้ค่าการป้องกันแสงแดดเท่ากันนะคะ แต่ต้องสังเกตค่าการป้องกันรังสียูวีด้วย ยิ่งถ้าบางคนไม่ได้ใส่ใจ อาจทำให้ทาครีมกันแดดเท่าไหร่ก็ไม่ได้ผล เพราะลืมดูค่า PA นั่นเองค่ะ เราจึงอยากให้สาว ๆ ทำความรู้จักและใส่ใจกับค่า PA ในครีมกันแดดกันให้มาก ๆ ค่ะ
ผิวขาดน้ำ จนทั้งแห้ง ทั้งมัน! เซรั่มช่วยคุณได้
น้ำนั้นมีความสำคัญต่อผิวหน้าเป็นอย่างมาก เพราะน้ำใต้ผิวทำให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้น เมื่อผิวหนังมีความชุ่มชื้นเป็นปกติ จะส่งผลให้ผิวสวยงาม มีความเรียบเนียน นุ่มเนียน แต่ในทางกลับกันหากผิวขาดน้ำก็จะทำให้ผิวไม่เรียบเนียน อาจจะลอกล่อนได้ ซึ่งถ้าคุณมีผิวในลักษณะเช่นนี้ เซรั่มช่วยคุณได้ค่ะ
รวมเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับเซรั่มที่คุณไม่ควรพลาดจริงๆ!
สาว ๆ ค่ะ คุณรู้จักเซรั่มดีแล้วหรือยัง? นี่คือคำถามที่เรากำลังจะถามคุณค่ะ เพราะเรามีเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับเซรั่มมาฝาก ถ้าคุณคิดว่าเซรั่มก็แค่ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวธรรมดา เราบอกเลยว่าคุณยังไม่รู้จักเซรั่มมากพอ แต่ไม่เป็นไรค่ะ เพราะเราจะมาทำความรู้จักกับเซรั่มด้วยกันดีกว่าค่ะ
สาวผิวมันใช้เซรั่มได้ แบบหน้าไม่เยิ้มจริงเหรอ?
สำหรับสาวที่มีผิวมัน ใช้อะไรก็มักจะเป็นสิวคงกำลังตั้งคำถามว่า แล้วฉันจะใช้เซรั่มได้หรือเปล่า ใช้แล้วหน้าจะมันกว่าเดิมไหม วันนี้เรามีคำตอบมาฝากสำหรับสาวผิวมันทั้งหลายมีมักมีปัญหาสิว หน้ามัน เมคอัพไม่ติดหน้า ไม่รู้ว่าจะใช้สกินแคร์อะไรดีแล้ว เราก็มีเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับการดูแลผิวหน้ามันด้วยเซรั่มมาฝากค่ะ
รู้ไหม รังสี UV ไม่ได้มีแค่ในแสงแดดนะ
เราเชื่อว่าทุกคนคงเคยได้ยินคำว่า รังสี UV กันแล้ว และเชื่อว่าหลายคนก็คงรู้ว่ารังสี UV นั้นมีอยู่ในแสงแดดแน่นอน ซึ่งจริงค่ะ แต่รู้หรือไม่คะว่านอกจากในแสงแดดแล้ว รังสี UV ยังมีอยู่รอบตัวเราเลย อย่างหลอดไฟ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งส่งผลต่อผิวสวย ๆ ให้เสียเร็วแน่นอนค่ะ เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่าเราต้องเจอกับรังสี UV ได้จากอะไรบ้าง